ภาษีทรัมป์ กระทบกับตลาดการเงินทั่วโลกอย่างไรในปี 2025?  

2025-04-17 | ภาษีชุดใหม่ , ภาษีทรัมป์ , ภาษีศุลกากรตอบโต้

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศใช้นโยบาย “ภาษีศุลกากรตอบโต้” (Reciprocal Tariff) หรือ ภาษีทรัมป์ ฉบับใหม่ ที่มุ่งเป้าไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งถือว่าเกินความคาดหมายของตลาดอย่างมาก การเคลื่อนไหวนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ครั้งใหญ่ของนโยบายการค้าสหรัฐฯ และส่งสัญญาณถึงการปรับโครงสร้างใหม่ของระบบการค้าโลก 

การประกาศดังกล่าวสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วตลาดการเงินทั่วโลก โดยเกิดแรงตอบรับอย่างฉับพลันและรุนแรงจากทั้งนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ แล้วภาษีชุดใหม่ของทรัมป์มีรายละเอียดอย่างไร? และจะส่งผลต่อทิศทางของตลาดการเงินในปี 2025 อย่างไร? มาดูในบทความนี้กัน  

เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ทรัมป์ได้เปิดตัวกรอบนโยบายภาษีใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่การจัดการปัญหาการขาดดุลทางการค้าระดับโลก โดยมีมาตรการสำคัญดังต่อไปนี้: 

  • เก็บภาษี 10% สำหรับสินค้านำเข้าจากทุกประเทศทั่วโลก มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน เวลา 00:01 น. 
  • กำหนดอัตราภาษีเฉพาะประเทศที่มีดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ สูงที่สุด อัตราภาษีจะอยู่ในช่วง 10% – 49% เริ่มมีผลในวันที่ 9 เมษายน ประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้จะถูกจัดเก็บตามอัตราพื้นฐานที่ 10% 
  • เก็บภาษี 25% สำหรับรถยนต์นำเข้าทุกรุ่นจากทุกประเทศ มีผลบังคับใช้ทันที 

จากงานวิจัยของ Yale University พบว่า มาตรการใหม่นี้ส่งผลให้ อัตราภาษีเฉลี่ยของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 22.5% ซึ่งนับว่าเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 1909 และมากกว่าค่าประมาณการณ์เดิมที่อยู่ราว 10% ถึง 2 เท่า 

นโยบายภาษีของทรัมป์มีเป้าหมายหลักอยู่ 3 ข้อสำคัญ: 

  • แก้ไขปัญหาดุลการค้า: ทรัมป์ต้องการตอบโต้สิ่งที่เขาเรียกว่า “แนวทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม” โดยมีเป้าหมายในการนำงานด้านการผลิตกลับคืนสู่สหรัฐฯ 
  • กระตุ้นการจ้างงานในประเทศ: ด้วยการทำให้สินค้าที่ผลิตในอเมริกามีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น รัฐบาลคาดว่าจะช่วยกระตุ้นการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมและสร้างตำแหน่งงานใหม่ให้กับชาวอเมริกัน 
  • เพิ่มรายได้ให้รัฐบาลกลาง: การจัดเก็บภาษีนำเข้าที่สูงขึ้นจะสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับรัฐบาล ซึ่งจะช่วยสนับสนุนงบประมาณของประเทศ 

หลังจากมีการประกาศนโยบายภาษีใหม่ ตลาดการเงินตอบสนองอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทั้งในแง่ของ :  

ตลาดหุ้นดิ่งแรง 

  • เมื่อวันที่ 3 เมษายน ดัชนี Dow Jones, S&P 500 และ Nasdaq ต่างพากันร่วงหนัก โดยแตะระดับการปรับตัวลดลงรายวันที่แรงที่สุดในรอบหลายปี 
  • แรงขายยังคงต่อเนื่องในวันที่ 4 เมษายน โดยดัชนี S&P 500 ดิ่งลงถึง 5.97% ซึ่งเป็นการร่วงลงรายวันที่แรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 

ดอลลาร์อ่อนค่า 

  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (US Dollar Index) ร่วงจากระดับเหนือ 104 ลงมาต่ำกว่า 102 ภายในวันเดียส่งผลให้สกุลเงินหลักอื่นๆ แข็งค่าขึ้นทันที 

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ผันผวน 

  • ทองคำ พุ่งขึ้นเกือบแตะระดับ $3,200 ต่อออนซ์ ก่อนจะย่อตัวลง เนื่องจากเงินทุนไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยอื่น 
  • น้ำมันดิบ ร่วงลงกว่า 4% จากความกังวลว่าอุปสงค์ด้านพลังงานทั่วโลกจะลดลงตามภาวะการค้าที่ย่อตัว 

สินค้าอุปโภคบริโภค 

การปรับขึ้นภาษีรอบนี้กระทบกับสินค้าผู้บริโภคหลายประเภท หลายบริษัทที่เคยย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอย่างเวียดนามและไทย เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีในรอบก่อน กลับต้องพบว่าประเทศเหล่านี้ถูกจัดอยู่ใน “กลุ่มภาษีสูง” ด้วยเช่นกัน 

แบรนด์ดังอย่าง Nike และ Adidas มีราคาหุ้นร่วงลงเกือบ 10% หลังจากมีประกาศภาษีใหม่ 

อุตสาหกรรมยานยนต์ 

ผู้ผลิตรถยนต์ต่างประเทศต้องเจอกับภาษีนำเข้าสหรัฐฯ สูงถึง 25% แบรนด์หรูอย่าง BMW และ Mercedes-Benz ได้รับผลกระทบโดยตรง โดยต้นทุนการนำเข้ารถบางรุ่นเพิ่มขึ้นถึง $20,000 ต่อคัน 

ภาษีจะมีการเจรจาลดลงหรือไม่? 

รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ Vincent Besson ระบุว่าแผนภาษีวันที่ 2 เมษายนถือเป็น “เพดานสูงสุด” ซึ่งบ่งชี้ว่ายังมีพื้นที่สำหรับการเจรจาในช่วงไม่กี่สัปดาห์ถัดไป การพูดคุยระหว่างสหรัฐฯ กับคู่ค้า ถือเป็นปัจจัยสำคัญ หากมีสัญญาณของการประนีประนอม อาจช่วยลดแรงกดดันในตลาดได้ 

เมื่อวันที่ 9 เมษายน ทรัมป์ประกาศ ชะลอการบังคับใช้ภาษีใหม่ชั่วคราว โดยลดอัตราภาษีเหลือ 10% สำหรับสินค้านำเข้าจากคู่ค้าสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ และให้เวลาการเจรจา 90 วัน 

ตลอดช่วง 3 เดือนข้างหน้า การเจรจาเพื่อปรับลดอัตราภาษีจริงจะเป็นประเด็นหลัก และผลลัพธ์จากการเจรจานี้อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตลาดการเงินทั่วโลก 

ความไม่แน่นอนด้านนโยบายเศรษฐกิจพุ่งสูง 

Source : FRED

หลังจากมีประกาศภาษี ดัชนีความไม่แน่นอนด้านนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ (Economic Policy Uncertainty Index) พุ่งสูงขึ้นทันที เมื่อความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น ภาคธุรกิจมักจะชะลอการลงทุน ซึ่งนำไปสู่ความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยภายในปีนี้ 

ท่ามกลางความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก ตลาดได้สะท้อนคาดการณ์ว่า Fed อาจปรับลดดอกเบี้ยมากถึง 5 ครั้งในปี 2025 คิดเป็นรวม 125 จุดเบสิส บางฝ่ายคาดว่า Fed อาจเริ่มดำเนินการก่อนการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งถัดไป 

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ทรัมป์ประกาศชะลอการบังคับใช้ภาษีแบบเต็มรูปแบบ ความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยแบบรุนแรงก็เริ่มลดลง แต่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยยังคงผันผวนสูง สะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางของความเชื่อมั่นในตลาด 

การเคลื่อนไหวของตลาดในระยะยาว  

ทรัมป์แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า “ภาษีศุลกากรคือหัวใจของนโยบายเศรษฐกิจของเขา” และมีแนวโน้มว่าจะยังคงใช้อย่างต่อเนื่อง นั่นหมายความว่า ความไม่แน่นอนจากการเจรจาการค้าระหว่างประเทศจะยังคงส่งผลกระทบต่อตลาด อย่างต่อเนื่อง 

นักลงทุนระยะยาวจึงจำเป็นต้องพิจารณาประเด็นนี้ในการจัดพอร์ตลงทุน เพราะทุกความเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการประกาศภาษีใหม่ หรือความคืบหน้าทางการทูต อาจส่งแรงกระเพื่อมไปทั่วทั้งอุตสาหกรรมได้ทันที 

ความอ่อนไหวของตลาดในระยะสั้น 

นับตั้งแต่ประกาศภาษีเมื่อวันที่ 2 เมษายน ความผันผวนในตลาดระยะสั้นทวีความรุนแรงขึ้น ตัวอย่างเช่น วันที่ 8 เมษายน เพียงแค่มีข่าวลือว่า การบังคับใช้ภาษีอาจถูกเลื่อน ทำให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้นทันที แต่ไม่นานก็ร่วงลงอย่างรวดเร็วหลังจากมีการยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เหตุการณ์แบบนี้สะท้อนว่า ตลาดมีความไวสูงต่อข่าวสารเชิงนโยบาย ความผันผวนของราคาและความรู้สึกนักลงทุนจึงอาจยังคงอยู่ต่อเนื่องตลอดช่วงหลายเดือนข้างหน้า 

ไม่กี่เดือนข้างหน้านี้จะเป็นช่วงเวลาสำคัญว่า แต่ละประเทศจะสามารถเจรจาลดอัตราภาษีได้หรือไม่ เพราะท่าทีของการเจรจาการค้าโลกจะส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและแนวโน้มตลาดโลกในระยะนี้ สิ่งสำคัญคือ ความคล่องตัว นักลงทุนควรจับตาการเปลี่ยนแปลงนโยบายทั่วโลกและเตรียมพร้อมปรับพอร์ต เพื่อลดความเสี่ยง และ คว้าโอกาส ที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว 

อ่านบทความวิเคราะห์ตลาดอีกมากมายที่นี่


การเปิดเผยความเสี่ยง 
หลักทรัพย์ ฟิวเจอร์ส CFD และผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากความผันผวนของมูลค่าและราคาของเครื่องมือทางการเงินพื้นฐาน เนื่องจากความเคลื่อนไหวของตลาดที่ไม่พึงประสงค์และคาดเดาไม่ได้ อาจเกิดการขาดทุนมากกว่าการลงทุนเริ่มต้นของท่านในระยะเวลาอันสั้น    
โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่านเข้าใจความเสี่ยงของการซื้อขายกับเครื่องมือทางการเงินแต่ละประเภทอย่างถ่องแท้ก่อนทำธุรกรรมกับเรา หากท่านไม่เข้าใจความเสี่ยงดังที่ได้อธิบายไว้ในนี้ ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอิสระ 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ   
ข้อมูลที่ปรากฏในบล็อกนี้มีไว้เพื่ออ้างอิงทั่วไปเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาให้เป็นคำแนะนำการลงทุน ข้อเสนอแนะ คำเชิญ หรือการเสนอขายหรือซื้อเครื่องมือทางการเงินใดๆ ทั้งนี้ไม่ได้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์การลงทุนหรือสถานการณ์ทางการเงินเฉพาะของผู้รับข้อมูลแต่ละราย ผลการดำเนินงานในอดีตไม่สามารถเป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับผลการดำเนินงานในอนาคต Doo Prime และบริษัทในเครือไม่ให้การรับรองหรือรับประกันใดๆ เกี่ยวกับความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของข้อมูลนี้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากการใช้ข้อมูลนี้หรือลงทุนตามข้อมูลดังกล่าว  
กลยุทธ์ที่กล่าวถึงข้างต้นสะท้อนถึงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและมีไว้เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น ไม่ควรใช้หรือพิจารณาเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจซื้อขายหรือคำเชิญชวนให้เข้าทำธุรกรรมใดๆ Doo Prime ไม่รับรองความถูกต้องหรือความครบถ้วนของรายงานนี้และปฏิเสธความรับผิดใดๆ ต่อความเสียหายที่เป็นผลมาจากการใช้รายงานนี้ คุณไม่ควรพึ่งพารายงานนี้แต่เพียงอย่างเดียวเพื่อทดแทนการตัดสินใจของคุณเอง ตลาดมีความเสี่ยงเสมอ และการลงทุนควรใช้ความระมัดระวัง 

วิเคราะห์ตลาดเชิงลึกIconBrandElement

article-thumbnail

2025-07-17 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

ทำไมบิตคอยน์ถึงกำลังพุ่งขึ้น และอะไรคือปัจจัยเบื้องหลัง 

บิตคอยน์ ทำสถิติใหม่อีกครั้ง พุ่งทะลุ 123,000 ดอลลาร์ ดึงเหล่านักเทรดให้กลับเข้าสู่โหมดเสี่ยงเต็มพิกัด แต่คำถามคือ นี่เป็นเพียงอีกหนึ่งรอบของกระแสเก็งกำไร หรือมีอะไรเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างแล้วจริงๆ?  ถ้ามองลึกลงไป จะเห็นว่ามีพลังขับเคลื่อนสำคัญสองอย่างที่กำลังเกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งหลายคนยังไม่ทันเชื่อมโยงจุดเหล่านี้เข้าด้วยกัน  สิ่งแรกกำลังคลี่คลายอยู่ในวอชิงตัน ขณะที่อีกกระแสหนึ่งก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ ในระบบการเงินโลก โดยส่งสัญญาณล่วงหน้าแบบเดียวกับที่เคยหนุนให้บิตคอยน์พุ่งแรงมาแล้วหลายรอบ  และเมื่อรวมทั้งสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน ก็ไม่ยากที่จะเข้าใจว่าทำไมบิตคอยน์ถึงกำลังไต่ระดับขึ้น และทำไมรอบนี้อาจไม่ใช่แค่การพุ่งขึ้นชั่วคราวเหมือนที่ผ่านมา  กฎหมายคริปโตฉบับใหม่เปลี่ยนเกมทั้งกระดาน  ตลอดหลายปีที่ผ่านมา นักลงทุนบิตคอยน์ต้องเผชิญกับคำถามคาใจหนึ่งที่ยังไร้คำตอบจากฝั่งอเมริกา: สหรัฐฯ เอาจริงเอาจังกับคริปโตแค่ไหนกันแน่?  ตั้งแต่กรณีที่ SEC ไล่จัดการกับแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนต่างๆ ไปจนถึงการถกเถียงว่า ETH หรือ stablecoin ควรถูกจัดเป็นหลักทรัพย์หรือไม่ และการขาดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนโดยสิ้นเชิง ทำให้เงินทุนจากสถาบันส่วนใหญ่มักเลือกอยู่เฉยๆ แต่ตอนนี้สถานการณ์กำลังเปลี่ยนไปแล้ว  สภาผู้แทนราษฎรกำลังผลักดันกฎหมายคริปโตชุดใหญ่หลายฉบับ โดยเฉพาะร่างกฎหมาย Financial Innovation and Technology for the 21st Century Act ที่ถูกออกแบบมาเพื่อระบุให้ชัดเจนว่าใครมีหน้าที่ดูแลอะไร มอบอำนาจกำกับดูแลบิตคอยน์และคริปโตประเภทอื่นให้กับ CFTC มากขึ้น พร้อมทั้งวางกรอบการขอใบอนุญาตระดับชาติให้กับแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนและ stablecoin อย่างเป็นทางการ  ทำไมบิตคอยน์ถึงชอบร่างกฎหมายคริปโต  บิตคอยน์ไม่ได้พุ่งขึ้นเพราะมีร่างกฎหมายบางฉบับที่อาจจะผ่าน […]

article-thumbnail

2025-07-14 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

พรรคอเมริกาของ Musk ส่งสัญญาณบวกหรือลบต่อหุ้น TSLA? 

อีลอน มัสก์ กลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง คราวนี้ไม่ใช่เรื่องจรวดหรือหุ่นยนต์แท็กซี่ แต่เป็นการเปิดตัวขบวนการทางการเมืองของเขาเองในชื่อว่า “พรรคอเมริกา”  ในมุมแรกอาจดูเหมือนโปรเจกต์ส่วนตัวแปลกๆ ของมหาเศรษฐีอีกชิ้นหนึ่ง แต่ถ้าสังเกตให้ดี มันอาจกลายเป็นหมากตัวใหม่ที่ส่งผลต่อทิศทางการเมืองและเศรษฐกิจในอนาคต และอาจเป็นแรงหนุนต่อหุ้น Tesla (TSLA) ในแบบที่นักลงทุน Wall Street หลายคนยังมองไม่เห็น  พรรคอเมริกาคืออะไร?  แล้วจริงๆ พรรคอเมริกาคืออะไร? และทำไมมัสก์ถึงสร้างมันขึ้นมา?  พูดง่ายๆ นี่คือคำตอบของอีลอน มัสก์ต่อระบบที่เขามองว่า “ล้มเหลว” พรรคอเมริกาเป็นขบวนการทางการเมืองใหม่ ที่ตั้งใจมาท้าทายระบบการผูกขาดของสองพรรคใหญ่ในสหรัฐฯ มัสก์ระบุว่า พรรคนี้เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมเสรีภาพในการพูด เปิดพื้นที่ให้การถกเถียงทางการเมืองกว้างขึ้น และอาจมีบทบาทในการกำหนดนโยบายด้านภาษีและกฎระเบียบที่กระทบต่อธุรกิจของเขาโดยตรง  ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายเกินตัว โค้ดภาษีที่ไม่เป็นธรรม หรือกฎระเบียบที่ขัดขวางเทคโนโลยีใหม่ๆ มัสก์ต้องการลุกขึ้นมาท้าทายทั้งหมดนี้ และสร้างระบบที่ให้ “ไอเดียที่ดีที่สุด” ชนะ ไม่ใช่ “คนที่วิ่งล็อบบี้เก่งที่สุด”  แต่มันยังมีอีกชั้นหนึ่ง พรรคอเมริกาดูเหมือนจะเป็นกลยุทธ์ตอบโต้ของมัสก์ต่อภัยคุกคามอย่างข้อเสนอของทรัมป์ในการเก็บภาษีรถยนต์ไฟฟ้าจากยุโรป ซึ่งอาจกระทบต่อโรงงาน Tesla ในเบอร์ลิน การมีพรรคการเมืองของตัวเอง ทำให้มัสก์ไม่ได้แค่ตั้งรับ แต่รุกกลับเต็มที่ ตั้งเป้าสร้างบทสนทนาใหม่ในสังคม และผลักดันนโยบายที่จะทำให้สหรัฐฯ แข่งขันได้ในเทคโนโลยี พลังงาน และอุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูง  พูดให้เข้าใจง่ายๆ: พรรคอเมริกาคือวิธีของมัสก์ในการ […]

article-thumbnail

2025-07-03 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

ทองคำ vs บิตคอยน์: อะไรจะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในปี 2025? 

เมื่อพูดถึงการป้องกันความผันผวนของตลาด มีสินทรัพย์อยู่สองประเภทที่โดดเด่น: ทองคำและบิตคอยน์ หนึ่งในนั้นได้รับความไว้วางใจมานานนับพันปี ส่วนอีกตัวแม้จะอายุน้อยแต่ก็สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับโลกการเงินแบบดั้งเดิมได้อย่างน่าทึ่ง  และในตอนนี้ ขณะที่ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์เริ่มคลี่คลายลง และตลาดต่างจับตาการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของพาวเวลล์ สินทรัพย์ทั้งสองนี้ก็กลายเป็นคู่แข่งตัวฉกาจในการดึงดูดเงินลงทุน  แล้วอะไรจะกลายเป็น “หลุมหลบภัยทางการเงิน” สำหรับที่เหลือของปี 2025? มาหาคำตอบไปพร้อมกัน  ทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญในตอนนี้  การเจรจาสันติภาพในตะวันออกกลาง รวมถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของทรัมป์ในการลดความตึงเครียดระดับโลก ได้ช่วยสลายความเสี่ยงระยะสั้นครั้งใหญ่ ราคาน้ำมันก็เริ่มเย็นลง ขณะที่ความคาดหวังเรื่องเงินเฟ้อก็เริ่มลดลงเช่นกัน นั่นหมายความว่า ความสนใจของตลาดจะหันไปจับตาธนาคารกลางสหรัฐว่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยเมื่อใด  นี่คือช่วงเวลาสำคัญที่ทองคำและบิตคอยน์จะได้พิสูจน์ว่าใครคือผู้นำตัวจริงในฐานะ “สินทรัพย์ปลอดภัย” ทั้งสองต่างมีแนวโน้มไปได้ดีเมื่อค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัว ทั้งสองได้ประโยชน์จากอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงลดลง และทั้งสองยังดึงดูดเม็ดเงินจากนักลงทุนที่วิตกกังวลและต้องการปกป้องอำนาจการซื้อ  แต่ในวันนี้ ใครคือผู้ที่ยืนเหนือกว่า?  ทองคำ vs บิตคอยน์: เปรียบเทียบแบบชัดๆ ในปี 2025  ก่อนจะลงลึกว่าอะไรเป็นตัวขับเคลื่อนตลาดของทั้งสองฝั่ง มาดูภาพรวมกันก่อนว่า ทองคำและบิตคอยน์แตกต่างกันอย่างไรในปัจจัยพื้นฐานที่นักลงทุนให้ความสำคัญมากที่สุดในตอนนี้  ตอนนี้คุณก็เห็นภาพรวมแล้ว ต่อไปมาดูกันว่าทำไมทองคำอาจยังเปล่งประกายได้อีกในปีนี้ และอะไรอาจเป็นแรงผลักดันให้บิตคอยน์พุ่งแรงยิ่งขึ้น  ทองคำ: เป้าหมายถัดไปอาจอยู่ที่ 4,000 ดอลลาร์จริงหรือ?  มาเริ่มกันที่ทองคำ ล่าสุดราคาทะยานขึ้นไปแตะระดับสูงสุดใหม่ใกล้ 3,500 ดอลลาร์ ก่อนจะย่อตัวลงเล็กน้อย  อะไรคือปัจจัยหนุน? เป็นผลจากหลายปัจจัยที่ประจวบเหมาะ ทั้งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ลดลง การเข้าซื้อของธนาคารกลาง และความกังวลเรื่องเสถียรภาพหนี้ในระยะยาว […]